“วัดสอนเรื่องบริจาคมากได้บุญมาก เป็นการสอนสวนทางกับพระไตรปิฎก”


“วัดสอนเรื่องบริจาคมากได้บุญมาก เป็นการสอนสวนทางกับพระไตรปิฎก” มีแนวโน้มไปทางเดียวกันด้วยซ้าไป
สวนทาง มันต้องใช้กับทิศทางตรงกันข้าม เหมือนรถสวนกัน คันหนึ่งขึ้นเหนือ อีกคันขับสวนมาลงใต้ อย่างนี้ครับจึงเรียกว่า “สวน”
ถ้าที่วัดสอนว่า บริจาคมากได้บุญมาก เป็นการสอนสวนทาง แสดงว่าต้องมีที่พระพุทธเจ้าสอนว่า...
1. “ทำทานมาก ย่อมไม่ได้บุญมาก” (โดยไม่มีเงื่อนไขอื่นประกอบนะครับ) หรือ
2. “ทำทานมาก ย่อมได้บุญน้อย” หรือ
3. “ทำทานน้อย จึงจะได้บุญมาก” หรือ
4. “ทำทานมากหรือน้อย ได้บุญเท่ากัน”
ถ้ามีคำสอนอย่างนี้อยู่ ผมจะโอเคครับ ว่าวัดสอนสวนทางกับพระไตรปิฎกจริง
หาคำสอนแบบนี้มาดูกันครับ
ถ้าหาไม่พบ อย่าเพิ่งสรุปว่าสวนครับ...เร็วไป
---------------------------------------------------------


ความจริงพูดแบบชาวบ้านเลยก็ได้ ยังไม่ต้องไปเอาตารามากางคุยกัน คุณว่าประโยคไหนมันสมเหตุสมผลที่สุดครับ
1. “ทำทานมาก ย่อมได้บุญมาก” หรือ
2. “ทำทานมาก ย่อมไม่ได้บุญมาก” หรือ
3. “ทำทานมาก ย่อมได้บุญน้อย” หรือ
4. “ทำทานน้อย จึงจะได้บุญมาก” หรือ
5. “ทำทานมากหรือน้อย ได้บุญเท่ากัน”
คิดแบบคนไม่มีความรู้อะไร เอาสามัญสานึกมนุษย์ทั่ว ๆ ไปนี่แหละ ลองโหวตดูก็ได้ครับ
ผมว่าข้อ 1 Make Sense ที่สุด...หรือคุณว่าไง
---------------------------------------------------------

ทีนี้พูดถึงการทำบุญ แล้วจะได้ผลบุญมากหรือน้อย มันมีเงื่อนไขประกอบอยู่ด้วย เช่น
ปัจจัยที่หามาบริสุทธิ์ไหม / เจตนาของผู้ให้เป็นอย่างไร / ผู้รับเป็นใคร มีคุณความดีมากน้อยแค่ไหน
มาประกอบด้วย
ดังนั้นเมื่อจะเทียบว่า “ทำมาก ให้ผลบุญต่างจากทำน้อย” หรือไม่
1. ต้องเทียบใน Condition เดียวกัน หรือบริบทเดียวกันครับ อย่าเอาบริบทต่างกันมาเทียบกัน มันไม่ถูก
2. ต้องเทียบในคน ๆ เดียวกันด้วย...เพราะการทำทาน คือการกาจัดกิเลสโลภะ หรือความตระหนี่ในใจคน (ความโลภ) เมื่อตัดใจได้ บริจาคทรัพย์ไป บุญก็เกิดมาชำระล้างใจของผู้นั้นให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมา
มันจึงเป็นเรื่องเฉพาะคน จะมาเทียบบุญของคน 2 คน ที่ต่างคนต่างทำ ใน Condition ที่ต่างกันไม่ได้

 ตัวอย่างเช่น... ผมจะตักบาตรพระ ท่านเดินมาสององค์ การที่ผมใส่บาตรพระแค่หนึ่งองค์ (ข้าว 1 ทัพพี + แกง 1 ถุง) กับผมใส่ทั้งสององค์ (เพิ่มข้าวอีก 1 ทัพพี + แกงอีก 1 ถุง) ผมจะได้บุญเท่ากันไหม ต้องเทียบอย่างนี้นะครับ ในบริบทเดียวกัน คน ๆ เดียวกัน
ไม่ใช่ไปเทียบว่า ผมตักสององค์ แต่เพื่อนข้างบ้านตัก 3 องค์ แล้วมาสรุปว่า เพื่อนข้างบ้านต้องได้บุญมากกว่าผม หรือผมจะได้มากกว่า อย่างนี้ไม่ได้ เพราะมันคนละ Condition ครับ คือต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นด้วย เช่น สมมุติเพื่อนบ้านได้เงินมาจากเล่นหวย (ทรัพย์ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำมากกว่าผมก็ไม่แน่จะได้บุญมากกว่า) หรือเพื่อนบ้านตื่นมาใส่บาตรไปงั้น ๆ เพราะเมียปลุกให้ลุกมาใส่ ไม่ได้ตั้งใจอะไร อย่างนี้ก็ไม่แน่ว่าจะได้บุญมากกว่าผมที่ใส่น้อยองค์กว่านะครับ

 การยกเอาเรื่องของผู้หญิงบูชาพระบรมธาตุด้วยดอกบวบขมแล้วพระอินทร์ชมว่าได้บุญมาก อ่านดี ๆ สิครับ ว่าพระอินทร์ไม่ได้ชมว่าทำน้อยแล้วดี แต่ชมว่าแม้จะทำน้อย แต่เพราะมีจิตเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ผลบุญมันจึงไม่น้อย (ได้บุญเยอะเพราะอาศัยพระพุทธเจ้าครับ ไม่ใช่อาศัยดอกบวบแค่ 4 ดอก)
มาลองเล่นกันดูครับ ผมจะปรับบทให้ใหม่ เอาบริบทเดิมครับ แต่ปรับให้เธอมีดอกบวบขมเพิ่มจาก 4 ไปเป็น 10 ดอก หรือมีดอกมะลิอีก 2 ตะกร้าเข้าไปด้วย คุณว่าเธอยังจะได้บุญเท่าเดิมไหมครับ
ถ้าบอกว่าได้เท่าเดิม
 โอเค งั้นเธอก็ไม่จำเป็นต้องเอาไป 4 ดอกก็ได้ เอาไปดอกเดียว ครึ่งดอก ก็พอ หรือเอาไปแต่ก้านก็พอใช่ไหมครับ เพราะยังไงก็ได้เท่าเดิมอยู่แล้ว (ตรรกะประหลาดมาก)

มาที่เรื่องเวลามพราหมณ์ ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าทำตั้งเยอะแยะ ยังสู้เลี้ยงพระโสดาบันอิ่มเดียวไม่ได้
แต่ไม่ได้บอกว่า เพราะบริบทนี้ เวลาพราหมณ์เขาเกิดในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนาไงครับ เขาไม่มีเนื้อนาบุญ

ผู้เขียนก็เล่า 2 เรื่องนี้ซะเกือบเคลิ้มตามไปว่า ทำทานน้อยก็ได้บุญมาก (เหมือนสตรีดอกบวบนั่น) และทำบุญมากอาจได้บุญน้อย (เหมือนเวลามพราหมณ์) โดยไม่บอกคนอ่านว่ามันคนละบริบทกัน
ผมเปลี่ยนบทและตั้งคำถามให้คุณตอบดีกว่า
สมมุติเวลามพราหมณ์ ไปเกิดสลับยุคกับสตรีดอกบวบ
เมื่อสตรีดอกบวบมาเกิดในยุคของพราหมณ์ คุณว่าไอ้ดอกบวบ 4 ดอกนั่นมันจะทำให้เธอไปเกิดในสวรรค์ดาวดึงส์อีกไหมครับ (แต่เวลามพราหมณ์ได้ไปเกิดบนสวรรค์ เพราะแม้ไม่เจอเนื้อนาบุญ แต่ก็ทำเต็มที่)
คราวนี้เอาเวลามพราหมณ์มาบูชาพระบรมธาตุ ด้วยทรัพย์เยอะแยะที่ว่ามานั่นแหละ คุณว่า เวลามพราหมณ์น่าจะได้บุญขนาดไหนครับ น่าจะมากกว่าสตรีดอกบวบไหม
---------------------------------------------------------


 สรุปเรื่องนี้ให้ง่าย คือ เงื่อนไขไม่ได้อยู่ที่ใครทำมากหรือน้อย แต่อยู่ที่เจอเนื้อนาบุญ คือ พระพุทธเจ้าหรือพระสาวกหรือเปล่าต่างหา
อุปมาสักนิดครับ
สตรีดอกบวบเหมือนมีข้าว 1 กำมือ (ดอกบวบ 4 ดอก) แล้วหว่านข้าวลงนาที่อุดมสมบูรณ์ (พระพุทธเจ้าหรือพระสาวก) ข้าว 1 กำมือ ก็งอกงามได้ผลมากมาย
เวลามพราหมณ์ เหมือนมีข้าว 100 กระสอบ (ทรัพย์มากมาย) แต่ไม่เจอเนื้อนาบุญ ก็เหมือนหว่านข้าว 100 กระสอบ ลงบนพื้นซีเมนต์ อย่าว่าแต่จะได้ผลเลย งอกหรือเปล่ายังไม่รู้
แต่ลองสลับกันสิครับ ให้สตรีดอกบวบมาเจอพื้นซีเมนต์ แล้วให้เวลามพราหมณ์มาเจอเนื้อนาบุญบ้าง ผลจะต่างกันขนาดไหน...ระหว่างดอกบวบ 4 ดอก กับทรัพย์ทั้งหมดของพราหมณ์
---------------------------------------------------------

จะบอกว่า ทำมากได้มาก จริงไหม มันต้องเทียบในบริบท หรือ Condition เดียวกันครับ
ซื้อก๋วยเตี๋ยวร้านเดียวกัน ซื้อ 30 กับ 50 บาท ถ้ามันจะได้เท่ากัน ตรรกะมันประหลาดไปไหมครับ
---------------------------------------------------------

คราวนี้ขอกลับเข้าสู่โหมดชาวบ้านบ้างละครับ ผมคิดว่าทำทานมากย่อมได้บุญมากถูกต้องครับ
เริ่มเทียบระหว่างคนไม่ให้ กับคนให้ก่อนนะครับ (อย่าลืมว่าบริบทเดียวกัน)
คนไม่ให้ พูดทางบวกก็คือ ให้ = 0
เทียบกับคนให้ ซึ่งผมสมมุติว่าเป็นเลข 1 ก็แล้วกันครับ
พระพุทธเจ้าตรัสว่าคนให้ = 0 ไม่ได้บุญนะครับ
แต่คนให้ ซึ่งคือ 1 ได้บุญ...
1 จึงมีผลมากกว่า 0
ดังนั้น ถ้าให้มากขึ้น เป็น 2 คุณว่าบุญมันจะยังเท่ากับ 1 หรือมากกว่าครับ
ถ้าเท่า เราจะให้เยอะไปทำไมครับ มาให้แบบ 0.1, 0.2, 0.3 ก็พอแล้วครับ
อยู่ใกล้วัดไหน ไปทำบุญกับท่านสักบาทสองบาทก็พอแล้ว เพราะทำร้อย พัน หมื่น มันไม่ได้ต่างกันเลย ใส่บาตรพระ ก็ใส่ข้าวสักเมล็ดสองเมล็ดก็พอแล้ว ใส่ทำไมตั้งหลายทัพพี
นี่คิดแบบชาวบ้านสุด ๆ แล้วครับ
(เรื่องสัมปทา 4 ขอข้ามนะครับ ท่านไม่ได้บอกว่า “ทำมากได้มาก” ก็ไม่แปลก และธรรมะเรื่องนี้ เขาพูดถึงการทำบุญแล้วได้ผลทันตาเห็นนะครับ เงื่อนไขไม่อยู่ที่มากน้อย แต่อยู่ที่ต้องมีพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติมาเป็นผู้รับ ซึ่งส่วนมาก ท่านจะอนุเคราะห์คนจนครับ ทำน้อยก็ได้มากได้ แต่สมัยนี้จะไปหาท่านได้ที่ไหนครับ มันตาราเกินไป ไม่พูดดีกว่า)
---------------------------------------------------------

เอาสักสูตรนะครับ นี่ก็มีพระเคยเล่าให้ฟังมา “วณิชชสูตรครับ” (ปกติไม่อยากอ้างเลย มันทำให้คุยกันไม่สนุก)
พระสารีบุตรถามพระพุทธเจ้าว่า ทำไมบางคนค้าขายขาดทุน, บางคนกำไรนิดหน่อย, บางคนกำไรตามที่ตั้งเป้าไว้, บางคนกำไรเกินกว่าที่คิด
ถ้าอ้างจากพุทธพจน์ การมีทรัพย์มาก เกิดขึ้นเพราะอำนาจบุญ ก็แสดงว่า จะได้กำไร (ทรัพย์) มากหรือน้อย ก็เพราะบุญมากหรือน้อยด้วย
พระองค์ตอบว่า ถ้าปวารณากับพระไว้ว่าจะถวาย สมมุติจะถวายท่าน 10 บาท พอเอาเข้าจริง
1. ไม่ถวายสักบาท
2. ถวายไม่ถึง 10 บาท
3. ถวาย 10 บาทพอดี
4. ถวายเกิน 10 บาท มากกว่าที่ตั้งใจ
พระองค์บอกว่า
คนแบบที่ 1 พวกนี้ถ้ามาค้าขายก็ขาดทุน (บุญน้อยสุด เป็นประเภทให้ = 0 ครับ)
แบบ 2 ถ้าค้าขายจะมีกาไรนิดหน่อย (บุญมากขึ้น)
แบบ 3 ถ้าค้าขายจะได้กำไรตามที่ตั้งเป้าไว้
แบบ 4 ถ้าค้าขาย จะได้กำไรมากที่สุด
---------------------------------------------------------

เรื่องสุดท้าย
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็เพราะอำนาจบุญ
หมายถึงต้องมีบุญมาก บุญน้อยเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้... คำว่า “มาก” ก็หมายถึงต้องมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป ด้วย ไม่ใช่มากธรรมดา
มาดูว่าพระองค์ทำทานอย่างไร เพื่อจะได้เป็นพระพุทธเจ้า
พระองค์เล่าว่า ตอนเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์บอกตัวเองว่า ถ้าอยากจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องทำทานให้หมด เหมือนกับการคว่าหม้อน้า คือมีน้าในหม้อเท่าไหร่ เทออกให้หมด = มีอะไรเท่าไหร่ ก็ให้ให้หมด อย่าหวงแหน ทำอย่างนี้จึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้
ถ้าทำเท่าไรก็ได้บุญไม่ต่างกัน เดี๋ยวก็เป็นพระพุทธเจ้าได้ ท่านคงทำแบบเนิบ ๆ ไปแล้วครับ ไม่ต้องถึงกับคว่าหม้อ เราเองก็ต้องหาทางหมดกิเลสเหมือนกัน แม้ทำได้ไม่เท่าท่าน แต่ก็ต้องทางเดียวกันแหละ (จึงอนุมานได้ว่า เพราะทรงเห็นว่าจะได้บุญมาก ต้องให้มากด้วย จึงสอนตัวเองให้ทำอย่างนี้)
และในพระไตรปิฎก ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าชมคนที่ทำบุญน้อยสักที มีแต่ชมคนที่ทำมาก เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี และ นางวิสาขา ว่าเป็นเลิศ ดีกว่าใครทั้งหมดในการทำทาน
---------------------------------------------------------

ผมจึงขอสรุปแบบของผมครับว่า ทำทานมาก ได้บุญมาก สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สุด และสมเหตุสมผล Make Sense ที่สุดด้วย
ส่วนท่านที่คิดว่าไม่ใช่ ขอให้ท่านทำตามที่เชื่อต่อไปครับ เราต่างฝ่ายไม่มีใครเดือดร้อนครับ เงินของเรา เราหาของเรา เราใช้ของเรา บุญเป็นของเรา ต่างคนต่างทำครับ ไม่ทะเลาะกัน
และสมมุติว่าบุญที่ได้ไม่ต่างอะไรกัน ผมก็ยังชอบการให้มากอยู่ดีครับ เพราะนอกจากบุญที่ไม่เห็นแล้ว ผมมีความสุขทุกครั้ง เมื่อรู้ว่าเงินที่ผมบริจาคไปมาก ๆ นั้น ก่อประโยชน์กับพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่
ทำมาก กับ ทำน้อย...ผมเลือกทำมากครับ ไม่ต้องเอาบุญมาล่อ ผมก็ชอบทำมากอยู่ดี
---------------------------------------------------------

ไหน ๆ แล้ว ก็อยากพูดอีกนิด คือคำว่า “ทำมาก” หรือ “ทำน้อย” เนี่ย มันไม่มีเกณฑ์วัดนะครับ ว่าเท่าไหร่เรียกว่ามาก เท่าไหร่เรียกว่าน้อย
สมมุติคุณกับผมมีเงินรายได้เดือนละแสนบาท ผมทำบุญเดือนละ 20,000 บาทเป็นปกติ เงิน 20,000 สาหรับผม คือ ธรรมดา มากไหม ผมว่าไม่มาก น้อยไหม แล้วแต่ครับ บางทีผมว่าน้อย บางทีก็โอเค
แต่ถ้าคุณไม่เคยทำทานมาก ปกติทำทีละร้อยสองร้อย ใส่ซองผ้าป่าอย่างมากก็ห้าร้อย พันนึง เงิน 20,000 บาทนี้ สำหรับคุณคือมากครับ...โคตรมากด้วย 555
แต่ถ้าเป็นพวกตระหนี่ขี้เหนียวสุด ๆ 10 บาทสาหรับเขาก็มากแล้วครับ
สาหรับคนที่วัดพระธรรมกาย หรืออย่างน้อยก็ผม ครอบครัว เพื่อน และคนที่รู้จัก ทุกครั้งที่คนข้างนอกบอกว่าเราทำบุญมาก...ในความรู้สึกของเรา เราว่าไม่มากครับ ที่คุณบอกว่ามาก ที่จริงน่าจะเป็นเพราะคุณทำบุญน้อยเป็นปกติต่างหากละครับ (น้อยในความรู้สึกเรานะ)
แต่ไม่มีปัญหาครับ ต่างคนต่างสร้างบุญกันไป ตราบใดที่ทำบุญแล้วเราไม่เดือดร้อน ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ก็เป็นสิทธิ์ของเราที่จะทำ
---------------------------------------------------------

ขอจบเรื่องทำบุญไว้เท่านี้นะครับ ต่อจากนี้ไปเป็นเรื่องสัพเพเหระแล้วครับ จะอ่านก็ได้ ไม่อ่านก็ตามสะดวก เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าผู้เขียนอาจเข้าใจวัดไม่ถูกต้องนัก จะเป็นเพราะท่านรู้เรื่องวัดผิวเผินเกินไป หรืออย่างไรไม่ทราบ ก็แลกเปลี่ยนความคิดกันไปครับ
---------------------------------------------------------

(ต่อจากนี้คือ สปอยล์)
(ให้ตายสิ ผมเกลียดการสแกนถ้อยคาของคนอื่นจริง ๆ)
1. วัดนี้โน้มน้าวใจให้ “อยาก” โดยยกเอา รูปสมบัติ อะไรทานองนี้มาล่อ ปุถุชนคนมีกิเลสก็อยากได้เป็นธรรมดา ซึ่งก็ต้องทาบุญสิ แล้วก็สรุปชวนให้คิดตาม
ถ้อยคาแบบนี้ผมไม่เห็นด้วยนะครับ ผม (และคนอื่นอีกเยอะ) ทามาก เพราะผมเห็นว่าทามากแล้วดี มีประโยชน์ทั้งกับผม ทั้งพระศาสนา ดังนั้นไม่ต้องคิดแทนผมก็ได้ครับว่าจะถูกโน้มน้าวอย่างนั้นอย่างนี้ ตรงนี้ผมว่าคุณคิดแทนพวกเราเยอะไปครับ
ปัจจัยทาบุญที่วัดได้มา ผมคิดว่ามันตรงกับหลักของพาเรโตเลยครับ คือ เงินบริจาคจานวนมาก (สัก 70-80 %) ที่คนทาบุญให้วัด ได้มาจากคน 10-20 เปอร์เซ็นต์ครับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ ทั้งที่เปิดเผยตัวและไม่เปิดเผย (เขาคงราคาญคนมาด่า 555) ท่านเหล่านี้เป็นพ่อค้าครับ เงินแต่ละบาทที่เขาได้มาล้วนยากเย็น คนพวกนี้ไม่ได้โง่ครับ เอาบุญมาหลอก มาโน้มน้าว วัดไหนทาได้ลองดูเถิดครับ ถ้าแค่พูดเชิญชวนให้อยากแล้วเขาจะทาด้วย วัดเมืองไทยคงรวยทุกวัดแล้วครับ นี่เรื่องจริง คนพวกนี้เขาเห็นประโยชน์มากกว่านี้เยอะครับ เช่น ตักบาตรเป็นหมื่นรูปดีอย่างไร จัดบวชพระแสนรูปดีอย่างไร คือ มันมีอะไรมากกว่าเรื่องบุญครับ
ส่วนคนอีก 80 % แม้ทาได้น้อยกว่า แต่ไม่ได้น้อยใจอะไร เราก็ทาเยอะแบบของเรา (ถึงจะน้อยเมื่อเทียบกับเขา) อนุโมทนากับเขาที่ทาเยอะ และเราก็ช่วยวัดอย่างอื่นได้โดยไม่ต้องใช้เงิน
สรุปว่า ถ้ายังทาไม่ได้อย่างเขา ก็อย่าเพิ่งไปคิดแทนเขาเลยครับ ว่าทาเพราะถูกชักจูง...ตรรกะแบบนี้ผมคิดว่าไม่ถูกครับ
---------------------------------------------------------
2. วัดนี้เน้นบุญจากการบริจาค ให้โอนเงิน ทรัพย์สินเท่านั้น จึงมีกิจกรรมที่ต้องใช้เงิน เช่น ธุดงค์ เป็นต้น
ตรงนี้ก็ไม่ถูกครับ วัดเขาเน้นทุกเรื่องละครับ และสอนให้ทาจริงจังทุกเรื่องด้วย
ทาทาน ก็สอนให้ทาจริง ๆ ทาให้เร็ว ทาให้บ่อย และทาให้มาก
รักษาศีล ก็ให้รักษาจริง ๆ ไม่ใช่อาราธนาศีลที่วัดแล้วกลับไปดื่มเหล้าที่บ้าน บี้มดตบยุงอีก แต่ให้มีศีล 5 เป็นปกติ คือ มีตลอดเวลา มีทุกวัน และหาโอกาสรักษาศีล 8 เป็นระยะ ๆ ด้วย
นั่งสมาธิ... นี่ครับ คือจุดเด่น และสาคัญที่สุดของวัด ถือว่าเป็นเป้าหมายใหญ่ คนมาวัดจะรู้ว่ามาแล้วต้องนั่งสมาธิ (ไม่ทาทานยังได้เลย แต่มาแล้วไม่นั่ง ไม่ได้ครับ) วัดนี้จึงเป็นวัดที่สาธุชนมาอยู่รวมกันแล้วจะเงียบ เวลานั่งก็เงียบ ต่างคนต่างนั่งไป และการนั่งสมาธิกลายเป็นสิ่งที่คนวัดต้องทาทุกวัน แถมวัดยังให้ไปนั่งกันยาว ๆ ชนิด 5 วัน 7 วัน หมุนเวียนกันตลอดปีซะอีก
ถ้าคุณมาวัด คุณไม่ทาทาน ไม่มีใครว่าครับ คุณไม่รักษาศีล ไม่มีใครรู้ครับ แต่ถ้าคุณไม่นั่ง คุณจะกลายเป็นคนแปลก เขาจะงงว่าแล้วคุณจะมาวัดทาไม
ถ้าถามว่า ทาน ศีล ภาวนา หลวงพ่อพูดเรื่องไหนมากที่สุด คาตอบคือภาวนานะครับ เรื่องอื่นพูดเป็นคราว ๆ ไป แต่ภาวนานี้พูดทุกวัน สอนทุกวัน กระตุ้นทุกวัน
แต่เพราะทาทานมันเห็นเป็นตัวเงินไงครับ เป็นรูปธรรม คนจึงสัมผัสเรื่องนี้ได้ไว ลองสมมุติให้รักษาศีล หรือนั่งสมาธิ เห็นเป็นเงินได้เหมือนทานนะ ผมว่า 2 อย่างหลัง จะเป็นเงินกองรวมกันมากกว่าทานเยอะเลย...เยอะระดับท่วมวัดนะครับ
อย่างตัวผม ถามว่าทาอะไรมากสุด ผมว่าศีลกับนั่งสมาธินะ ทาทานผมทาวันต่อวัน แต่รักษาศีลนี่ ทาทั้งวันครับ นั่งสมาธิวันละ 2- 3 รอบนะครับ ตื่นนอน ระหว่างวันเท่าที่มีเวลา แล้วก็ก่อนนอนอีกครั้งหนึ่ง
สรุปว่า วัดสอนให้ทาทุกบุญอย่างเต็มที่ครับ
ผมพูดได้ เพราะผมมาวัดตั้งแต่อายุ 16 ตอนนั้นเงินยังไม่มีครับ ทาได้แค่รักษาศีลกับนั่งสมาธิ วัดก็สอนให้ทาทานเต็มกาลัง แต่ผมทาได้ครั้งละสิบ ครั้งละร้อยบาท (นั่นคือเต็มกาลังของผมนะ) วัดไม่เห็นจะว่าอะไร มาตอนนี้ อายุจะ 50 แล้ว ทาได้ทั้ง 3 อย่าง แต่นั่งสมาธิชักจะเมื่อยครับ 555
---------------------------------------------------------
3. วัดนี้ไม่เคยบอกญาติโยมว่า อยู่ใกล้วัดไหน ให้ไปทาบุญวัดนั้น และวัดนี้ดูดพระจากวัดต่าง ๆ ไปชุมนุมในกิจกรรมที่วัดจัดขึ้น
ไม่เห็นด้วยนะครับ ผมได้ยินจนจาจานวนครั้งไม่ได้แล้วว่า หลวงพ่อจะบอกว่า ใกล้วัดไหน ก็ไปทาบุญที่นั่น แถมแต่ละปีท่านให้สารวจด้วยว่า วัดไหนไม่มีใครไปทอดกฐิน ท่านก็ให้เด็ก ๆ ในชุมชน (เราเรียก V-Star) ไปทอดกฐิน ทารวม ๆ กันมาหลายปี เชื่อไหมครับ ยอดปัจจัยที่เด็ก ๆ ไปบอกบุญมาทาได้ หลายร้อยล้านบาทเชียวนะครับ (ผู้ใหญ่ยังอายน่ะ) แถมวัดไหนจะร้าง ท่านยังให้ไปช่วยอีกด้วย
วัดนี้ไม่ได้ดูดพระนะครับ วัดนิมนต์พระมา ซึ่งพระแต่ละวัดท่านก็พิจารณาของท่านว่าสะดวกมาร่วมไหม ท่านตัดสินใจเองครับ หลายวัดท่านไม่ว่างแล้วปฏิเสธไม่มาก็มี เรื่องแบบนี้เป็นปกติของสงฆ์ครับ คุณคนเขียนเคยบวชมาก็น่าจะรู้ พระท่านก็ช่วยกันอย่างนี้ ถือว่าเป็นกิจสงฆ์
ที่วัดพระธรรมกาย นิมนต์พระมาจานวนมาก ๆ ปีหนึ่งสักครั้งสองครั้งละมังครับ ปีหนึ่ง 365 วัน นิมนต์มาแค่วันสองวัน ไม่น่าเรียกว่าดูดนะ เพราะมาแล้วท่านก็กลับวัดท่านไป
ส่วนกิจกรรมต่างจังหวัด ไปจัดที่ไหนก็นิมนต์พระแถวนั้น ก็ในลักษณะเดียวกันนะครับ ซึ่งไม่ได้จัดทุกวัน ปีหนึ่งก็ไม่กี่ครั้งเหมือนกัน
ความจริงเวลาวัดอื่นจัดงาน ท่านมานิมนต์วัดพระธรรมกายไป ก็เห็นหลวงพี่ท่านไปร่วมงานเหมือนกันครับ พึ่งพาอาศัยกัน
ถ้าจะเรียกว่า “ดูด” พระ ต้องเป็นแบบนิมนต์ให้ท่านทิ้งวัดมาอยู่วัดพระธรรมกายครับ นั่นแหละดูด
-------------------------------------------
ขออภัยเนื้อหายาว คิดซะว่านาน ๆ มาทีนะครับ แลกเปลี่ยนกัน
ขอให้สนุกสนานกับการทาความดีทุกท่านครับ
Cr: Pra.Jimpol
“วัดสอนเรื่องบริจาคมากได้บุญมาก เป็นการสอนสวนทางกับพระไตรปิฎก” “วัดสอนเรื่องบริจาคมากได้บุญมาก เป็นการสอนสวนทางกับพระไตรปิฎก” Reviewed by ข่าวพิเศษ on 21:26 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.